Translate

ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2562

Reversal Chart Patterns - Double Top VS Double Bottom


 Double top VS Double bottom




รูปแบบดับเบิ้ลท็อป (Double top)



        รูปแบบการกลับตัว Double top จะเกิดขึ้นตอนที่ราคาหุ้นอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น และกำลังจะกลับตัวสู่แนวโน้มขาลง โดยจะสร้าง จุดสูงสุดสองจุดที่มีความสูงเท่ากันหรือใกล้เคียงกันเหมือนกับรูปด้านบน ซึ่งก็คือ จุด a และ จุด c เมื่อเห็น จุดสูงสุด 2 จุดในกราฟให้ลากเส้นแนวรับเหมือนกับเส้น b/d ตามรูปด้านบน หลังจากนั้นให้รอราคาหลุดเส้นแนวรับลงมา จึงทำการขายหุ้น หลังจากราคาหลุดเส้นแนวรับ b/d แล้ว เส้นแนวรับ b/d จะเปลี่ยนหน้าที่จากแนวรับเป็นแนวต้านแทน หลังจากที่ราคาหลุดแนวรับลงมาแล้วราคามีโอกาสที่จะเด้ง Pullback เพื่อไปทดสอบที่เส้นแนวต้าน b/d อีกครั้ง หากราคาไม่สามารถเด้งผ่านไปได้ราคาจะลงและเข้าสู่แนวโน้มขาลงต่อไป

             ตัวอย่าง 



รูปแบบดับเบิ้ลบอททอม (Double bottom)


          Double bottom เป็นรูปแบบการกลับตัวจากแนวโน้มขาลง เข้าสู่แนวโน้มขาขึ้น โดยกราฟจะทำจุดต่ำสุด 2 จุด ที่เท่ากันหรือใกล้เคียงกันเหมือนกับ จุด a และ c ตามรูปด้านบน เมื่อเห็นจุดต่ำสุด 2 จุดในกราฟให้ลากเส้นแนวต้าน b/d ตามรูปด้านบน และรอให้ราคาเบรคเส้นแนวต้านขึ้นไปทางด้านบนก่อนจึงทำการซื้อหุ้นตัวดังกล่าว เมื่อราคาเบรกเส้นแนวต้านขึ้นไปได้แล้ว เส้นแนวต้านดังกล่าวจะเปลี่ยนหน้าที่จากแนวต้านสู่แนวรับ เพราะราคาอาจจะลงกลับมาทดสอบเส้นดังกล่าวอีกครั้ง Throwback หากราคาไม่หลุดแนวรับลงมาแสดงว่าแนวรับนั้นมีนัยสำคัญ และราคาจะเด้งกลับขึ้นไปสู่แนวโน้มขาขึ้นดังรูปด้านบน

ตัวอย่าง 



การใช้ รูปแบบ Double top และ Double bottom

         การเข้าซื้อขายจะต้องรอจนกว่าราคาจะเบรคเส้นแนรับหรือแนวต้าน พร้อมกับมีปริมาณการซื้อขายที่มาก เพราะถ้าหากไม่รอให้ราคาหลุดแนวรับ หรือแนวต้านก่อน รูปแบบของราคาอาจจะไม่ใช้ Double top หรือ Double bottom ก็ได้ แต่อาจจะเป็นรูปแบบ กราฟสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งเป็นรูปแบบกราฟต่อเนื่อง ไม่ใช่รูปแบบการกลับตัว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

Support & Resistrance แนวรับ-แนวต้าน

Support & Resistrance Support & Resistrance แนวรับ-แนวต้าน คือเครื่องมือวัดระดับราคาที่เป็นข้อมูลจากกราฟ เรื่องนี้มีความสำคัญอย่...

Powered By Blogger

ผู้ติดตาม