Translate

ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2562

Throwback VS Pullback

Throwback VS Pullback 

Throwback/ Pullback ก็คือรูปแบบการดึงกลับของราคาหลังทะลุผ่านแนวรับ/แนวต้าน แล้วราคาวิ่งตามแนวโน้มเดิมต่อ

มี 2 รูปแบบเป็นดังนี้ครับ

Pullback (ขึ้นเพื่อลงต่อ) : เกิดขึ้นในแนวโน้มขาลง โดยเมื่อราคาทะลุผ่านแนวรับลงไปแล้ว ถูกดึงขึ้นมาไปทสดอบแนวรับที่เพิ่งจะทะลุไป แล้วจึงค่อยปรับตัวลงต่อ (โซนสีชมพู)

Throwback (ย่อเพื่อขึ้นต่อ) : เกิดขึ้นในแนวโน้มขาขึ้น โดยเมื่อราคาทะลุผ่านแนวต้านขึ้นไป หลังจากนั้นมีการทดสอบราคาลงมาเทสแนวต้านเดิม แล้วค่อยวิ่งขึ้นไปต่อ (โซนสีเขียว)

วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2562

Neutral Chart Patterns - Falling Wedge VS Rising Wedge

Falling Wedge VS Rising Wedge


Falling Wedge

Falling Wedge คือ รูปแบบของราคาที่จะเกิดขึ้นในหุ้นที่อยู่ในแนวโน้มขาขึ้นหรือขาลงทำกรอบ Sideway โดยจะทำรูปสามเหลี่ยมเป็นลิ่ม ก่อนที่จะทำราคาขึ้นไปต่อ โดย Falling Wedge จะทำจุดต่ำสุด 2 จุด หรือมากกว่า สำคัญคือจุดสุดท้าย จากจุด d ไป e ตามรูปด้านบน หากพบรูปแบบ Falling Wedge ให้ลากเส้นแนวรับที่จุด b/d และ แนวต้านที่จุด a/c/e ตามรูปด้านบน หลังจากนั้นให้รอราคาหลุดเส้นแนวต้านขึ้นไปจึงทำการซื้อหุ้น เมื่อราคาหลุดเส้นแนวต้านขึ้นไป เส้นแนวต้านจะเปลี่ยนหน้าที่เป็นแนวรับ และราคาจะมีโอกาสเด้งกลับลงไปชนที่แนวรับอีกครั้งตามรูป  หากราคาไม่ผ่านราคาจะปรับตัวขึ้นไป

ตัวอย่าง



Rising Wedge


Rising Wedge คือ รูปแบบของราคาที่จะเกิดขึ้นในหุ้นที่อยู่ในแนวโน้มขาขึ้นหรือขาลงก็ได้ ทำเป็นกรอบ Sideway โดยจะทำรูปสามเหลี่ยมรูปลิ่มก่อนที่จะทำราคาลงไปต่อ โดย Rising Wedge จะทำจุดสูงสุด 2 จุด หรือมากกว่า สำคัญคือจุดสุดท้าย จากจุด d ไป e ตามรูปด้านบน หากพบรูปแบบ Rising Wedge ให้ลากเส้นแนวต้านที่จุด b/d และ แนวรับที่จุด a/c/e ตามรูปด้านบน หลังจากนั้นให้รอราคาหลุดเส้นแนวรับลงไปจึงทำการขายหุ้น เมื่อราคาหลุดเส้นแนวรับลงไป เส้นแนวรับจะเปลี่ยนหน้าที่เป็นแนวต้าน และราคาจะมีโอกาสเด้งกลับขึ้นไปชนที่แนวต้านอีกครั้งตามรูป  หากราคาไม่ผ่านราคาจะปรับตัวลงไป

ตัวอย่าง 


Continuation Chart Patterns - Ascending Triangle VS Descending Triangle

Ascending Triangle VS Descending Triangle 

Ascending Triangle

Ascending Triangle คือ รูปแบบของราคาที่จะเกิดขึ้นในหุ้นที่อยู่ในแนวโน้มขาขึ้นทำกรอบ Sideway โดยจะทำรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ก่อนที่จะทำราคาขึ้นไปต่อ โดย Ascending Triangle จะทำจุดต่ำสุด 2 จุด หรือมากกว่า สำคัญคือจุดสุดท้าย จากจุด d ไป e ตามรูปด้านบน หากพบรูปแบบ Ascending Triangle ให้ลากเส้นแนวรับที่จุด b/d และ แนวต้านที่จุด a/c/e ตามรูปด้านบน หลังจากนั้นให้รอราคาหลุดเส้นแนวต้านขึ้นไปจึงทำการซื้อหุ้น เมื่อราคาหลุดเส้นแนวต้านขึ้นไป เส้นแนวต้านจะเปลี่ยนหน้าที่เป็นแนวรับ และราคาจะมีโอกาสเด้งกลับลงไปชนที่แนวรับอีกครั้งตามรูป  หากราคาไม่ผ่านราคาจะปรับตัวขึ้นไป

ตัวอย่าง


 Descending Triangle 



Descending Triangle  คือ รูปแบบของราคาที่จะเกิดขึ้นในหุ้นที่อยู่ในแนวโน้มขาขึ้นทำกรอบ Sideway โดยจะทำรูปสามเหลี่ยมมุมฉากก่อนที่จะทำราคาลงไปต่อ โดย Descending Triangle จะทำจุดสูงสุด 2 จุด หรือมากกว่า สำคัญคือจุดสุดท้าย จากจุด d ไป e ตามรูปด้านบน หากพบรูปแบบ Descending Triangle  ให้ลากเส้นแนวต้านที่จุด b/d และ แนวรับที่จุด a/c/e ตามรูปด้านบน หลังจากนั้นให้รอราคาหลุดเส้นแนวรับลงไปจึงทำการขายหุ้น เมื่อราคาหลุดเส้นแนวรับลงไป เส้นแนวรับจะเปลี่ยนหน้าที่เป็นแนวต้าน และราคาจะมีโอกาสเด้งกลับขึ้นไปชนที่แนวต้านอีกครั้งตามรูป  หากราคาไม่ผ่านราคาจะปรับตัวลงไป

ตัวอย่าง






Continuation Chart Patterns - Bullish Symmertrical Triangle VS Bearish Symmertrical Triangle

Bullish Symmertrical Triangle VS Bearish Symmertrical Triangle

Bullish Symmertrical Triangle

Bullish Symmertrical Triangle คือ รูปแบบของราคาที่จะเกิดขึ้นในหุ้นที่อยู่ในแนวโน้มขาขึ้นทำกรอบ Sideway โดยจะทำรูปสามเหลี่ยมก่อนที่จะทำราคาขึ้นไปต่อ โดย Bullish Symmertrical Triangle จะทำจุดต่ำสุด 2 จุด หรือมากกว่า สำคัญคือจุดสุดท้าย จากจุด d ไป e ตามรูปด้านบน หากพบรูปแบบ Bullish Symmertrical Triangle ให้ลากเส้นแนวรับที่จุด b/d และ แนวต้านที่จุด a/c/e ตามรูปด้านบน หลังจากนั้นให้รอราคาหลุดเส้นแนวต้านขึ้นไปจึงทำการซื้อหุ้น เมื่อราคาหลุดเส้นแนวต้านขึ้นไป เส้นแนวต้านจะเปลี่ยนหน้าที่เป็นแนวรับ และราคาจะมีโอกาสเด้งกลับลงไปชนที่แนวรับอีกครั้งตามรูป  หากราคาไม่ผ่านราคาจะปรับตัวขึ้นไป



Bearish Symmertrical Triangle


Bearish Symmertrical Triangle คือ รูปแบบของราคาที่จะเกิดขึ้นในหุ้นที่อยู่ในแนวโน้มขาขึ้นทำกรอบ Sideway โดยจะทำรูปสามเหลี่ยมก่อนที่จะทำราคาลงไปต่อ โดย Bearish Symmertrical Triangle จะทำจุดสูงสุด 2 จุด หรือมากกว่า สำคัญคือจุดสุดท้าย จากจุด d ไป e ตามรูปด้านบน หากพบรูปแบบ Bearish Symmertrical Triangle ให้ลากเส้นแนวต้านที่จุด b/d และ แนวรับที่จุด a/c/e ตามรูปด้านบน หลังจากนั้นให้รอราคาหลุดเส้นแนวรับลงไปจึงทำการขายหุ้น เมื่อราคาหลุดเส้นแนวรบลงไป เส้นแนวรับจะเปลี่ยนหน้าที่เป็นแนวต้าน และราคาจะมีโอกาสเด้งกลับขึ้นไปชนที่แนวต้านอีกครั้งตามรูป  หากราคาไม่ผ่านราคาจะปรับตัวลงไป





Bearish Symmertrical Triangle

Continuation Chart Patterns - Bullish Flag VS Bearis Flag


Continuation Chart Patterns - Bullish Flag VS Bearis Flag

Bullish Flag

Bullish Flag คือ รูปแบบของราคาที่จะเกิดขึ้นในหุ้นที่อยู่ในแนวโน้ขาขึ้นทำกรอบ Sideway โดยจะทำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าคล้ายธงชาติก่อนจะทำราคาขึ้นไปต่อ โดย Bullish Flag จะทำจุดต่ำสุด 2 จุด หรือมากกว่าสำคัญคือจุดสุดท้าย จากจุด e ไป f ตามรูปด้านบน หากพบรูปแบบ Bullish Flag ให้ลากเส้นแนวต้านที่จุดสูงสุดระหว่าง b/d/f และ แนวรับที่จุด c/e ตามรูปด้านบน หลังจากนั้นให้รอราคาหลุดเส้นแนวต้านขึ้นไปจึงทำการซื้อหุ้น เมื่อราคาหลุดเส้นแนวต้านขึ้นไป เส้นแนวต้านจะเปลี่ยนหน้าที่เป็นแนวรับ และราคาจะมีโอกาสเด้งกลับลงไปชนที่แนวรับอีกครั้งตามรูป  หากราคาไม่ผ่านราคาจะปรับตัวขึ้นไป

ตัวอย่าง




Bearis Flag


Bearis Flag คือ รูปแบบของราคาที่จะเกิดขึ้นในหุ้นที่อยู่ในแนวโน้ขาลงทำกรอบ Sideway โดยจะทำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าคล้ายธงชาติก่อนจะทำราคาลงไปต่อ โดย Bearis Flag จะทำจุดต่ำสุด 2 จุด หรือมากกว่าสำคัญคือจุดสุดท้าย จากจุด e ไป f ตามรูปด้านบน หากพบรูปแบบ Bearis Flag ให้ลากเส้นแนวรับที่จุดสูงสุดระหว่าง b/d/f และ แนวต้านที่จุด c/e ตามรูปด้านบน หลังจากนั้นให้รอราคาหลุดเส้นแนวรับลงไปจึงทำการขายหุ้น เมื่อราคาหลุดเส้นแนวรับลงไป เส้นแนวรับจะเปลี่ยนหน้าที่เป็นแนวต้าน และราคาจะมีโอกาสเด้งกลับลงไปชนที่แนวต้านอีกครั้งตามรูป  หากราคาไม่ผ่านราคาจะปรับตัวลงไป

ตัวอย่าง



Continuation Chart Patterns - Bullish Pennant VS Bearis Pennant


Bullish Pennant VS Bearis Pennant

Bullish Pennant



Bullish Pennant คือ รูปแบบของราคาที่จะเกิดขึ้นในหุ้นที่อยู่ในแนวโน้มขาขึ้นทำกรอบ Sideway โดยจะทำรูปสามเหลี่ยมคล้ายหาวธงก่อนที่จะทำราคาขึ้นไปต่อ โดย Bullish Pennant จะทำจุดต่ำสุด 2 จุด หรือมากกว่า สำคัญคือจุดสุดท้าย จากจุด e ไป f ตามรูปด้านบน หากพบรูปแบบ Bullish Pennant ให้ลากเส้นแนวรับที่จุด c/e และ แนวต้านที่จุด b/d/f ตามรูปด้านบน หลังจากนั้นให้รอราคาหลุดเส้นแนวต้านขึ้นไปจึงทำการซื้อหุ้น เมื่อราคาหลุดเส้นแนวต้านขึ้นไป เส้นแนวต้านจะเปลี่ยนหน้าที่เป็นแนวรับ และราคาจะมีโอกาสเด้งกลับลงไปชนที่แนวรับอีกครั้งตามรูป  หากราคาไม่ผ่านราคาจะปรับตัวขึ้นไป

ตัวอย่าง


 Bearis Pennant


Bearis Pennant คือ รูปแบบของราคาที่จะเกิดขึ้นในหุ้นที่อยู่ในแนวโน้มขาลงทำกรอบ Sideway โดยจะทำรูปสามเหลี่ยมคล้ายหาวธงก่อนที่จะทำราคาลงไปต่อ โดย Bearis Pennant จะทำจุดสูงสุด 2 จุด หรือมากกว่า สำคัญคือจุดสุดท้าย จากจุด e ไป f ตามรูปด้านบน หากพบรูปแบบ Bearis Pennant ให้ลากเส้นแนวรับที่จุด c/e และ แนวรับที่จุด b/d/f ตามรูปด้านบน หลังจากนั้นให้รอราคาหลุดเส้นแนวรับลงไปจึงทำการขายหุ้น เมื่อราคาหลุดเส้นแนวรับไป เส้นแนวรับจะเปลี่ยนหน้าที่เป็นแนวต้าน และราคาจะมีโอกาสเด้งกลับขึ้นไปชนที่แนวต้านอีกครั้งตามรูป  หากราคาไม่ผ่านราคาจะปรับตัวลงไป

ตัวอย่าง



Continuation Chart Patterns - Bullish Rectangle VS Bearish Rectangle

 Bullish Rectangle  VS Bearish Rectangle 

Bullish Rectangle 

Bullish Rectangle คือ รูปแบบของราคาที่จะเกิดขึ้นในหุ้นที่อยู่ในแนวโน้มขาขึ้นทำกรอบ Sideway โดยจะทำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อนที่จะทำราคาขึ้นไปต่อ  โดย Bullish Rectangle จะทำจุดต่ำสุด 2 จุด หรือมากกว่า สำคัญคือจุดสุดท้าย จากจุด d ไป e ตามรูปด้านบน หากพบรูปแบบ Bullish Rectangle  ให้ลากเส้นแนวรับที่จุดสูงสุดระหว่าง a/c/e และ จุดต่ำสุดระหว่าง b/d ตามรูปด้านบน หลังจากนั้นให้รอราคาหลุดเส้นแนวต้านขึ้นไปจึงทำการซื้อหุ้น เมื่อราคาหลุดเส้นแนวต้านขึ้นไป เส้นแนวต้านจะเปลี่ยนหน้าที่เป็นแนวรับ และราคาจะมีโอกาสเด้งกลับลงไปชนที่แนวรับอีกครั้งตามรูป  หากราคาไม่ผ่านราคาจะปรับตัวขึ้นไป

ตัวอย่าง 




Bearish Rectangle 

Bearish Rectangle คือ รูปแบบของราคาที่จะเกิดขึ้นในหุ้นที่อยู่ในแนวโน้มขาลงทำกรอบ Sideway โดยจะทำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อนที่จะทำราคาลงไปต่อ  โดย Bearish Rectangle จะทำจุดสูงสุด 2 จุด หรือมากกว่า สำคัญคือจุดสุดท้าย จากจุด d ไป e ตามรูปด้านบน หากพบรูปแบบ Bearish Rectangle ให้ลากเส้นแนวรับที่จุดสูงสุดระหว่าง a/c/e และ แนวต้านที่จุดต่ำสุดระหว่าง b/d ตามรูปด้านบน หลังจากนั้นให้รอราคาหลุดเส้นแนวรับลงมาจึงทำการขายหุ้น เมื่อราคาหลุดเส้นแนวรับลงไป เส้นแนวรับจะเปลี่ยนหน้าที่เป็นแนวต้าน และราคาจะมีโอกาสเด้งกลับลงไปชนที่แนวต้านอีกครั้งตามรูป  หากราคาไม่ผ่านราคาจะปรับตัวลงไป

ตัวอย่าง



วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2562

Continuation Chart Patterns - Cup And Handle VS Inverse Cup And Handle


Cup And Handle VS Inverse Cup And Handle

Cup And Handle


       รูปแบบของราคาหุ้นที่จะเกิดขึ้นในหุ้นที่อยู่ในแนวโน้มขาขึ้นทำกรอบ Sideway โดยจะทำรูปแบบถ้วยก่อนที่จะทำราคาขึ้นไปต่อ โดย Cup And Handle โดยราคาจะทำจุดต่ำสุด 1 จุด ซึ่งก็คือ จุด b  ตามรูปด้านบน หากพบรูปแบบ Cup And Handle ให้ลากเส้นแนวรับที่จุดสูงสุดระหว่าง a/c/e ตามรูปด้านบน หลังจากนั้นให้รอราคาหลุดเส้นแนวต้านขึ้นไปจึงทำการซื้อหุ้น เมื่อราคาหลุดเส้นแนวต้านขึ้นไป เส้นแนวต้านจะเปลี่ยนหน้าที่เป็นแนวรับ และราคาจะมีโอกาสเด้งกลับลงไปชนที่แนวรับอีกครั้งตามรูป  หากราคาไม่ผ่านราคาจะปรับตัวขึ้นไป 

ตัวอย่าง


Inverse Cup And Handle


       รูปแบบของราคาหุ้นที่จะเกิดขึ้นในหุ้นที่อยู่ในแนวโน้มขาลงทำกรอบ Sideway โดยจะทำรูปแบบถ้วยก่อนที่จะทำราคาลงไปต่อ โดย Inverse Cup And Handle โดยราคาจะทำจุดสูงสุด 1 จุด ซึ่งก็คือ จุด b  ตามรูปด้านบน หากพบรูปแบบ Inverse Cup And Handle ให้ลากเส้นแนวรับที่จุดสูงสุดระหว่าง a/c/e ตามรูปด้านบน หลังจากนั้นให้รอราคาหลุดเส้นแนวรับลงไปจึงทำการขายหุ้น เมื่อราคาหลุดเส้นแนวรับลงไป เส้นแนวรับจะเปลี่ยนหน้าที่เป็นแนวต้าน และราคาจะมีโอกาสเด้งกลับขึ้นไปชนที่แนวรับอีกครั้งตามรูป  หากราคาไม่ผ่านราคาจะปรับตัวลงมา 

ตัวอย่าง







Reversal Chart Patterns - Triple Top VS Triple Bottom

Triple Top VS Triple Bottom

รูปแบบกราฟ (Triple Top)



         Triple Top รูปแบบของราคาหุ้นที่จะเกิดขึ้นในหุ้นที่อยู่ในแนวโน้มขาขึ้นและกำลังจะกลับตัวเข้าสู่ขาลง โดยจะทำรูปแบบ Triple Top โดยราคาจะทำจุดสูงสุดที่เท่ากันหรือใกล้เคียงกัน 3 จุด ซึ่งก็คือ จุด a/c/d  ตามรูปด้านบน หากพบรูปแบบ Triple Top ให้ลากเส้นแนวรับที่จุดต่ำสุดระหว่าง b/e ตามรูปด้านบน หลังจากนั้นให้รอราคาหลุดเส้นแนวรับลงมาจึงทำการขายหุ้น เมื่อราคาหลุดเส้นแนวรับลงมา เส้นแนวรับจะเปลี่ยนหน้าที่เป็นแนวต้าน และราคาจะมีโอกาสเด้งกลับขึ้นไปชนที่แนวต้านอีกครั้งตามรูป Pullback หากไม่ผ่านราคาจะปรับตัวลงมา 

ตัวอย่าง

รูปแบบกราฟ (Triple Bottom)



     Triple Bottom รูปแบบของราคาหุ้นที่จะเกิดขึ้นในหุ้นที่อยู่ในแนวโน้มขาลงและกำลังจะกลับตัวเข้าสู่ขาขึ้น โดยจะทำรูปแบบ Triple Top โดยราคาจะทำจุดต่ำสุดที่เท่ากันหรือใกล้เคียงกัน 3 จุด ซึ่งก็คือ จุด a/c/d  ตามรูปด้านบน หากพบรูปแบบ Triple Top ให้ลากเส้นแนวรับที่จุดสูงสุดระหว่าง b/e ตามรูปด้านบน หลังจากนั้นให้รอราคาหลุดเส้นแนวต้านขึ้นไป เมื่อราคาหลุดเส้นแนวต้านขึ้นไป เส้นแนวต้านจะเปลี่ยนหน้าที่เป็นแนวรับ และราคาจะมีโอกาสเด้งกลับลงไปชนที่แนวรับอีกครั้งตามรูป Thownback หากไม่ผ่านราคาจะปรับขึ้นไป

   การเบรคผ่านแนวต้านหรือแนวรับ ควรจะมีปริมาณการซื้อขายที่มาก เพราะแสดงให้เห็นว่านักลงทุนส่วนใหญ่คิดเหมือนกัน ทำให้แนวต้านมีนัยสำคัญมาก


 ตัวอย่าง





Reversal Chart Patterns - Double Top VS Double Bottom


 Double top VS Double bottom




รูปแบบดับเบิ้ลท็อป (Double top)



        รูปแบบการกลับตัว Double top จะเกิดขึ้นตอนที่ราคาหุ้นอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น และกำลังจะกลับตัวสู่แนวโน้มขาลง โดยจะสร้าง จุดสูงสุดสองจุดที่มีความสูงเท่ากันหรือใกล้เคียงกันเหมือนกับรูปด้านบน ซึ่งก็คือ จุด a และ จุด c เมื่อเห็น จุดสูงสุด 2 จุดในกราฟให้ลากเส้นแนวรับเหมือนกับเส้น b/d ตามรูปด้านบน หลังจากนั้นให้รอราคาหลุดเส้นแนวรับลงมา จึงทำการขายหุ้น หลังจากราคาหลุดเส้นแนวรับ b/d แล้ว เส้นแนวรับ b/d จะเปลี่ยนหน้าที่จากแนวรับเป็นแนวต้านแทน หลังจากที่ราคาหลุดแนวรับลงมาแล้วราคามีโอกาสที่จะเด้ง Pullback เพื่อไปทดสอบที่เส้นแนวต้าน b/d อีกครั้ง หากราคาไม่สามารถเด้งผ่านไปได้ราคาจะลงและเข้าสู่แนวโน้มขาลงต่อไป

             ตัวอย่าง 



รูปแบบดับเบิ้ลบอททอม (Double bottom)


          Double bottom เป็นรูปแบบการกลับตัวจากแนวโน้มขาลง เข้าสู่แนวโน้มขาขึ้น โดยกราฟจะทำจุดต่ำสุด 2 จุด ที่เท่ากันหรือใกล้เคียงกันเหมือนกับ จุด a และ c ตามรูปด้านบน เมื่อเห็นจุดต่ำสุด 2 จุดในกราฟให้ลากเส้นแนวต้าน b/d ตามรูปด้านบน และรอให้ราคาเบรคเส้นแนวต้านขึ้นไปทางด้านบนก่อนจึงทำการซื้อหุ้นตัวดังกล่าว เมื่อราคาเบรกเส้นแนวต้านขึ้นไปได้แล้ว เส้นแนวต้านดังกล่าวจะเปลี่ยนหน้าที่จากแนวต้านสู่แนวรับ เพราะราคาอาจจะลงกลับมาทดสอบเส้นดังกล่าวอีกครั้ง Throwback หากราคาไม่หลุดแนวรับลงมาแสดงว่าแนวรับนั้นมีนัยสำคัญ และราคาจะเด้งกลับขึ้นไปสู่แนวโน้มขาขึ้นดังรูปด้านบน

ตัวอย่าง 



การใช้ รูปแบบ Double top และ Double bottom

         การเข้าซื้อขายจะต้องรอจนกว่าราคาจะเบรคเส้นแนรับหรือแนวต้าน พร้อมกับมีปริมาณการซื้อขายที่มาก เพราะถ้าหากไม่รอให้ราคาหลุดแนวรับ หรือแนวต้านก่อน รูปแบบของราคาอาจจะไม่ใช้ Double top หรือ Double bottom ก็ได้ แต่อาจจะเป็นรูปแบบ กราฟสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งเป็นรูปแบบกราฟต่อเนื่อง ไม่ใช่รูปแบบการกลับตัว


วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2562

Reversal Chart Patterns - Head And Shoulders VS Inverse Head And Shoulders

Head And Shoulders VS Inverse Head And Shoulders


 แพทเทิลกราฟหัวและไหล่ แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ

Head And Shoulders 
         หัวและไหล่หัวตั้ง จะเกิดตอนที่ราคาอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น โดยจะทำสัญญาณเป็นรูปแบบหัวไหล่เหมือนกับในรูปด้านบนโดยจะมี จุด a เป็นไหล่ซ้าย จุด e เป็นไหลขวา และจุด c เป็นส่วนของหัว หากเจอรูปแบบนี้จะต้องลากเส้น neck line (เส้นที่ขีดตามรูปด้านบน) ระหว่างจุดสองจุด คือ low ของ ไหล่ซ้ายและไหล่ขวา ของกราฟตามรูปด้านบน
การใช้งานกราฟหุ้นหัวและไหล่หัวตั้ง
        เมื่อลากเส้น neck line ได้แล้วผู้ลงทุนจะต้องรอให้ราคา breakout เส้น neck line ก่อนจึงทำการขายเพราะหากไม่รอให้หลุดก่อน ราคาอาจจะไม่หลุดลงมาล่าง neck line หรืออาจจะเด้งไปสูงกว่าจุดที่เราคิดว่าเป็นส่วนหัว จนทำให้ไม่เป็นรูปแบบ หัวและไหล่ ตามที่เราคิดไว้ก็ได้

ัตวอย่าง 





 Inverse Head And Shoulders
         หัวและไหล่กลับหัว เป็นรูปแบบที่ตรงข้ามกลับข้อหนึ่ง โดยจะเกิดขึ้นในตลาดขาลงและกำลังจะกลับตัวเข้าสู่ขาขึ้น โดยรูปแบบของหัวและไหล่กลับหัวจะเหมือนกับคนตีลังกาอยู่ โดยจะมีจุด c เป็นส่วนหัว และ a และ e เป็นส่วนของไหล่ ตามรูปด้านบน เมื่อเริ่มเห็นรูปแบบเป็นหัวและไหล่กลับหัวให้นักวิเคราะห์ลากเส้น neck line (เส้นที่ขีดตามรูปด้านบน) ซึ่งจะลากระหว่างจุดสูงสุดของไหล่ขวาและจุดสูงสุดของไหล่ซ้าย ตามรูป

การใช้งานกราฟหุ้นหัวและไหล่กลับหัว
         เมื่อผู้วิเคราะห์ลากเส้น neck line แล้ว นักวิเคราะห์จะต้องรอให้ราคา breakout เส้น neck line ขึ้นมาก่อนจึงทำการซื้อหุ้นเพราะหากไม่รอ ราคาอาจจะลงไปต่ำกว่าส่วนหัวอีกได้ แล้วจะทำให้รูปแบบของราคาไม่ใช่ “หัวและไหล่” แต่จะลงต่อไปในแนวโน้มขาลง

ตัวอย่าง



วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2562

Support & Resistrance แนวรับ-แนวต้าน - Trend Line เส้นแนวโน้ม

Trend Line

 trend line เครื่องมือที่ใช้สำหรับหาแนวโน้มของราคา เส้น trend line แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

1. up trend ใช้หาแนวโน้มในช่วงขาขึ้นของราคา
2. down trend ใช้หาแนวโน้มในช่วงขาลงของราคา
3.side way คือกรณีราคาไม่เลือกทิศทางใดราคาจะขึ้นลงไปจนกว่าจะเลือกทิศทางราคาได้

         การหาแนวโน้มของราคาถือเป็นเรื่องสำหรับการลงทุนในหุ้น นักเก็งกำไรส่วนใหญ่จะรู้จักเครื่องมือนี้เป็นอย่างดี เพราะเป็นเครื่องมือที่คาดการณ์ราคาได้ค่อนข้างแม่นยำ แต่ถ้าหากคุณเป็นนักลงทุน (VI) ก็สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจซื้อขายได้
         การลากเส้นแนวโน้ม เป็นเรื่องง่ายที่จะทำความเข้าใจและนำไปใช้ แต่ความแม่นยำของการลากเส้นแนวโน้มโดยใช้ trend line (เทรนไลน์) นั้นจะขึ้นอยู่กับตัวผู้ใช้งานด้วย หากผู้ใช้งานมีการใช้งานบ่อยจนเกิดเป็นความชำนาญ การลาก trend line (เทรนไลน์) ก็จะมีความแม่นยำ อย่างแน่นอน
ลากแบบไหนถูกลากแบบไหนผิด

         สำหรับการลาก trend line (เทรนไลน์) เพื่อหาแนวโน้มของราคานั้นไม่มีคำว่าผิดหรือถูก เพราะการลาก trend line เราจะลากเพื่อใช้ยึดในการปฏิบัติตามเท่านั้น บางคนเป็นนักลงทุนระยะสั้นก็จะมองหาแนวโน้มขนาดเล็ก บางคนลุนทุนระยะยาวก็จะมองหาแนวโน้มขนาดใหญ่เช่น ใน time frame day เส้นแนวโน้มเป็นขาขึ้น แต่ใน time frame 15 นาที อาจจะเป็นขาลง ดังนั้นผู้ลงทุนควรลากแนวโน้มตามความเหมาะสมกับการลงทุนของผู้ลงทุนเอง แต่การลากเส้นแนวโน้มนั้นจะต้องมีนัยสำคัญจึงจะนำมาใช้งานได้ การลากเส้นแนวโน้มนั้นไม่สำคัญเท่าการปฏิบัติตามและการบริหารจัดการพอร์ตที่ดี 
ความแม่นยำในการลากเส้นแนวโน้ม

         ความแม่นยำของเส้นแนวโน้มเมื่อลากออกมาแล้ว ต้องดูว่าแนวโน้มนั้น มีนัยสำคัญมากหรือไม่ หากมีนัยสำคัญมาก แสดงว่าเส้นแนวโน้มนั้นๆมีความน่าเชื่อถือ สามารถปฏิบัติตามได้ แล้วแบบไหนถือว่ามีนัยสำคัญ

วิธีดูนัยสำคัญของเส้นแนวโน้มที่ลาก

         การดูว่าเส้นแนวโน้มนั้นมีนัยสำคัญหรือไม่นั้นสามารถดูได้จากจำนวนจุดที่มีการเชื่อมต่อกันบนเส้น แนวโน้มของ trend line  โดยการลากเส้นแนวโน้มจะลากเชื่อมกันตั้งแต่ 2 จุดขึ้นไป แต่หากมีจุดเชื่อมบน trend line  ตั้งแต่ 3 จุดขึ้นไป ถือว่าเส้นแนวโน้มนั้นมีนัยสำคัญมาก
         มีนัยสำคัญมาก ก็คือ หากมีจุดเชื่อมบน trend line  มากแสดงว่านักลงทุนส่วนใหญ่ลากเส้นแนวโน้มเหมือนเรา หากเป็นแนวโน้มขาลงเส้นแนวโน้มจะเรียกว่าแนวต้าน จะสังเกตุได้ว่าเมื่อราคามาถึงเส้นแนวโน้มที่ทำหน้าที่เป็นแนวต้านนั้นราคาจะถูกกดลงทันที และวิ่งไปตามแนวโน้มเดิม แล้วทำไมถึงเป็นแบบนั้น ก็เพราะว่านักลงทุนลากเส้นได้เหมือนกันทำให้ทุกคนพร้อมที่จะขายที่เส้นแนวโน้มนั่นเอง
         มีนัยสำคัญน้อย หากมีจุดเชื่อมบน trend line  น้อยหรือเชื่อมเพียง 2 จุดเท่านั้นจะจะถือว่ามีนัยสำคัญน้อย หากเกิดการเบรกเส้นแนวโน้มราคาอาจจะไม่ได้เปลี่ยนทิศทางจริง ก็ได้

หลักการลากเส้นแนวโน้มด้วย trend line

         1.ต้องมีจุดเชื่อมกันตั้งแต่สองจุดขึ้นไป
         2.จะต้องมีเส้นที่สามารถลากขนานกันได้
         3.หัวใจสำคัญของการลาก trend line  นั้นคือต้องตามหาเส้นที่มีนัยสำคัญ นำมาใช้งาน เพราะหากมีนัยสำคัญแปลว่า “นักลงทุนส่วนมากลากเหมือนกันเส้นที่เราลาก ทำให้การคาดการมีความคลาดเคลื่อนน้อย”

ตัวอย่างการเทรดแบบ up trend



ตัวอย่างการเทรดแบบ down trend




วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2562

Chart Patterns / Price Patterns


Chart Patterns



      Chart Patterns หรือ Price Patterns คือ รูปแบบราคาในPattern ต่างๆ ส่วนใหญ่จะเกิดในขณะที่ราคาชะลอตัวอ่อนแรงหรือมีการพักตัวไม่ว่าราคาจะวิ่งขึ้นหรือวิ่งลงเมื่อวิ่งจนอ่อนแรงแล้วราคาจะพักตัวขณะที่พักตัวแทบจะทุกPatternพบว่าปริมาณการซื้อขายลดน้อยลงเรื่อยกราฟราคาก็จะเหวี่ยงตัวสร้างPatternจนกระทั่งราคากลับมามีทิศทางใดทิศทางหนึ่งอย่างชัดเจนปริมาณการซื้อขายจะกลับมาเพิ่มขึ้นอย่างมากอีกครั้ง
   รูปแบบราคาหรือPatternของกราฟเหล่านั้นมีมากมายหลายแบบ แต่สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
   1.รูปแบบกลับตัว (Reversal Pattern) คือเมื่อราคาวิ่งขึ้นหรือลงในทิศทางที่ชัดเจนจากนั้นชะลอตัวเกิดPatternได้สำเร็จราคาจะเปลี่ยนทิศทางจากขาขึ้นเป็นขาลงหรือจากขาลงเป็นขาขึ้น เช่น 
- Head And Shoulders/Inverse Head And Shoulders 
- Double Bottom/Double Top
- Triple Bottom/Triple Top 
       2.รูปแบบต่อเนื่อง (Continuous Pattern) คือ เมื่อราคาวิ่งขึ้นหรือลงในทิศทางที่ชัดเจนจากนั้นชะลอตัวเกิดPatternได้สำเร็จจะเป็นการยืนยันว่าราคาจะเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดิม เช่น
- Symmertrical Triangle
- Rectangle 
- Descending Triangle/Ascending Triangle
- Flag
- Pennant
- Cup and Handle/Inverse Cup and Handle
        3. รูปแบบที่เป็นได้ทั้งกลับตัวและต่อเนื่อง (Neutral) คือเมื่อราคาวิ่งขึ้นหรือลงในทิศทางที่ชัดเจนจากนั้นชะลอตัวเกิดPatternได้สำเร็จราคาจะกลับตัวหรือไปต่อในทิศทางเดิม เช่น 
 - Falling Wedge/Rising Wedge


วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2562

Candlestick Patterns


รูปแบบกราฟแท่งเทียน (Candlestick Patterns) 

Candlestick

     กราฟแท่งเทียน หรือ Candlestick หนึ่งในเทคนิคที่ถูกหยิบมาใช้อย่างยาวนานกว่า 100 ปี โดย กราฟแท่งเทียน นั้นถูกคิดค้นครั้งแรกโดยชาวญี่ปุ่นชื่อ Homma เขาได้ค้นพบว่าในช่วงเวลานั้นราคาของข้าว และ Demand หรือ ความต้องการนั้นมีจุดบางจุดที่เชื่อมโยงกัน โดยเฉพาะในเรื่องของอารมณ์ในการซื้อขาย เขาเข้าใจว่าอารมณ์ที่เป็นหัวใจสำคัญในตลาดการซื้อขายข้าว ณ เวลานั้น หากสรุปง่ายๆ แล้ว กราฟแท่งเทียน ก็เป็นการแสดงข้อมูลอย่างนึงที่จะแสดงถึงอารมณ์ของผู้ซื้อขายหุ้น ณ เวลานั้นๆ

ตัวอย่างกราฟราคาหุ้น รูปแบบกราฟแท่งเทียน (Candlestick)




องค์ประกอบแท่งเทียน ( Candlestick ) 



ลักษณะของแท่งเทียนจะมี 2 ส่วน คือ ตัวแท่งเทียน( Body) กับไส้เทียน (Shadow)  

องค์ประกอบของแท่งเทียนมี 4 อย่าง ได้แก่ 
1. ราคาเปิด
2. ราคาปิด
3. ราคาสูงสุด 
4. ราคาต่ำสุด

ลักษณะของแท่งเทียน



ลักษณะของแท่งเทียนที่ปรากฎอยู่บนกราฟโดยส่วนใหญ่ สามารถแยกออกเป็น 3 รูปแบบคือ

(1) ลักษณะแท่งเทียนที่มีรูปแบบขาขึ้น (Bullish Candlestick Pattern) หมายถึงหุ้นหรือค่าเงินที่ปรับตัวไปในทางที่ดีเป็นบวก คือมีราคาสูงขึ้นนั้นเอง (ราคาปิดสูงกว่าราคาเปิดหรือราคาเปิดต่ำกว่าราคาปิด) ในกราฟนิยมตั้งเป็นแท่งสีขาวหรือเขียว

(2) ลักษณะแท่งเทียนที่มีรูปแบบขาลง (Bearish Candlestick Pattern) หมายถึงหุั้นหรือค่าเงินที่ปรับตัวไปในทางลบ คือมีราคาต่ำลง (ราคาปิดต่ำกว่าราคาเปิดหรือราคาเปิดสูงกว่าราคาปิด) ในกราฟนิยมตั้งเป็นสีดำหรือแดง

(3) ลักษณะแท่งเทียนที่มีรูปร่างแบบต่อเนื่องเรื่อยไปไม่เปลี่ยนแปลง (Continuous Candlestick Pattern) หมายถึงหุ้นหรือค่าเงินที่ไม่มีการปรับตัว อาจจะมีปรับอยู่บ้าง แต่มันเป็นจำนวนเล็กน้อย จึงไม่ส่งผลกระทบใดๆได้(ราคาเปิดและราคาปิดอยู่ในระดับเดียว หรืออยู่ใกล้เคียงกันมากๆ) ในกราฟจะมีแต่เส้นไม่มีแท่ง รูปร่างจะคล้ายๆเครื่องหมายบวก(+) ชาวญี่ปุ๋น(เจ้าของกราฟแท่งเทียน) เรียกว่า Doji


* ข้อมูลบางส่วนอ้างอิงจาก https://www.forexinthai.com

รูปแบบกราฟแท่งเทียน

    เวลาที่เราอ่านกราฟการเคลื่อนที่ของราคาแล้วพบว่า แท่งเทียนแท่งล่าสุดแสดงให้เห็นถึงอารมณ์ของแรงซื้อหรือแรงขายที่แตกต่างจากอารมณ์ของแท่งเทียนหลายๆ แท่งก่อนหน้า จะเป็นจุดเริ่มต้นชวนให้สงสัยว่า แรงซื้อหรือแรงขายที่มีก่อนหน้านี้เริ่มที่จะลดความกระตือรือร้นในการซื้อหรือขายแล้วใช่หรือไม่และถ้าแรงจากฝั่งตรงข้ามเพิ่มขึ้นมากพอแนวโน้มของราคาที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอาจจะมีการกลับตัวก็เป็นไปได้
  ในตลาดหุ้นที่ราคามีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา รูปของแท่งเทียนที่สามารถเกิดขึ้นจึงมีมากมายหลายรูปแบบ ซึ่งแบ่งเป็น 2 รูปแบบหลักๆ  
(1) รูปแบบกลับตัว (Reversal Patterns) โดยรูปแบบกลับตัวจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
      - กลุ่มที่ 1 รูปแบบที่ใช้พิจารณาการกลับตัวของราคาจากขาลงเป็นขาขึ้น (Bullish Candlestick Patterns
      - กลุ่มที่ 2 รูปแบบที่ใช้พิจารณาการกลับของราคาตัวจากขาขึ้นเป็นขาลง (Bearlish Candlestick Patterns)
(2) รูปแบบต่อเนื่อง (Continuation Patterns) โดยรูปแบบต่อเนื่องจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม เช่นเดียวกัน ดังนี้
      - กลุ่มที่ 1 รูปแบบที่ใช้พิจารณาการไปต่อของราคาขาขึ้นเพื่อขึ้นต่อ (Bullish Candlestick Patterns
      - กลุ่มที่ 2 รูปแบบที่ใช้พิจารณาการไปต่อของราคาขาลงเพื่อลงต่อ (Bearlish Candlestick Patterns)









Candlestick Reversal Patterns Part 1 Piercing Pattern VS Dark Cloud Cover


Candlestick Patterns
 รูปแบบกลับตัว (Reversal Patterns) 


1.Piercing Pattern VS Dark Cloud Cover

Piercing Pattern


ขาขึ้น Piercing Pattern เป็นรูปแบบแท่งเทียนสีเขียวของหุ้นหรือค่าเงินที่อยู่ในเทรนขาลงโดยตัวแท่งเทียน (Body) มีลักษณะที่ค่อนข้างยาวและมีราคาปิดที่สูงเกินกว่าครึ่งของแท่งเทียนสีแดงก่อนหน้าซึ่งตัวแท่งเทียนก่อนหน้าที่เป็นสีแดงนั้นก็มีความยาวอยู่ในระดับหนึ่ง แล้วมีราคาปิดเกือบถึงราคาต่ำสุดของแท่งเทียนที่อยู่ในเทรนขาลงก่อนหน้านั้นเช่นกัน รูปแบบแท่งเทียนที่มีลักษณะเช่นนี้ 

Piercing Pattern : บ่งบอกถึงสัญญาณการกลับตัวของหุ้นหรือค่าเงินที่มีความรุนแรงความหมายก็ คือ อาจมีกลับตัวเปลี่ยนทิศทางจากขาลงเป็นขึ้นได้

EX 




Dark Cloud Cover 


ขาลง Dark Cloud Cover เป็นรูปแบบแท่งเทียนสีแดงของหุ้นหรือค่าเงินที่อยู่ในเทรนขาขึ้น โดยตัวแท่งเทียน (Body) มีลักษณะที่ค่อนข้างยาว และมีราคาปิดที่สูงเกินกว่าครึ่งของแท่งเทียนสีเขียวก่อนหน้า ซึ่งตัวแท่งเทียนก่อนหน้าที่เป็นสีเขียวนั้นก็มีความยาวอยู่ในระดับหนึ่งแล้วมีราคาเปิดที่ใกล้เคียงกับราคาสูงสุดของแท่งเทียนที่อยู่ในเทรนขาขึ้นก่อนหน้านั้นเช่นกัน รูปแบบแท่งเทียนที่มีลักษณะเช่นนี้ 

Dark Cloud Cover : บ่งบอกถึงสัญญาณการกลับตัวของหุ้นหรือค่าเงินที่มีความรุนแรงความหมายก็ คือ อาจมีกลับตัวเปลี่ยนทิศทางจากขาขึ้นเป็นขาลงได้

Ex

โพสต์ล่าสุด

Support & Resistrance แนวรับ-แนวต้าน

Support & Resistrance Support & Resistrance แนวรับ-แนวต้าน คือเครื่องมือวัดระดับราคาที่เป็นข้อมูลจากกราฟ เรื่องนี้มีความสำคัญอย่...

Powered By Blogger

ผู้ติดตาม